จัดเตรียมหลักฐานที่ใช้ประกอบการสั่งจ่าย
๑. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๓ ฉบับ
๒. สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล (ถ้ามี) จำนวน ๓ ฉบับ
๓. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ (เฉพาะหน้าที่มีชื่อและเลขที่บัญชี) จำนวน ๓ ฉบับ
๔. บัญชีรับรองเวลาราชการทวีคูณ (กรณีไม่ได้แนบไว้ในสมุดประวัติรับราชการ)
๕. รูปถ่ายยศปัจจุบัน ขาวดำหรือสี (ระยะเวลาไม่เกิน ๖ เดือน) ขนาด ๑ ๑/๒ นิ้ว จำนวน ๖ รูป
๖. บัญชีรับรองเวลาราชการเป็นทวีคูณ (ยกเว้นกฎอัยการศึก)
๗. สำเนาคำสั่งให้พ้นจากราชการ หรือคำสั่งเกษียณอายุ แล้วแต่กรณี
๘. สำเนาคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งสุดท้าย เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ กรณีเกษียณอายุหรือลาออก
ยื่นเรื่องขอรับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญและแจ้งความประสงค์ขอรับเงิน
๑. นายทหารชั้นนายพล สังกัด สำนักงานผู้บังคับบัญชา, ปษ.พิเศษ บก.ทท., ปษ.บก.ทท., ผทค.พิเศษ บก.ทท., ผทค.บก.ทท., ผชท.บก.ทท. ติดต่อที่ สบ.ทหาร (กองสิทธิประโยชน์กำลังพล ชั้น ๖ อาคาร ๙ บก.ทท.) ซึ่งเป็นไปตามอนุมัติ ผบ.ทสส. ตามหนังสือ กพ.ทหาร ที่ กห ๐๓๐๒/๑๕๕๖ ลง ๑๗ ส.ค.๔๔
๒. นายทหารสัญญาบัตรและนายทหารประทวน ติดต่อที่หน่วยต้นสังกัด พร้อมทั้งแจ้งความประสงค์ขอรับเงินทางหน่วยเบิกจ่ายส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคตามความสะดวก ดังนี้
ส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) : บก.ทท. (กง.ทหาร)
ส่วนภูมิภาค (ต่างจังหวัด) : มณฑลทหารบก, กองบิน ๕, สำนักงานสัสดีจังหวัด... (ที่มีคลัง)
การตรวจสอบหลักฐาน
หน่วยต้นสังกัดดำเนินการจัดทำเอกสารหลักฐานขอรับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญส่งให้ สบ.ทหาร ตรวจสอบความถูกต้องเพื่อส่งกรมบัญชีกลางอนุมัติสั่งจ่าย
การสั่งจ่าย
กรมบัญชีกลาง ส่งหนังสื่อสั่งจ่ายให้ จำนวน ๓ ฉบับ ดังนี้
๑. สบ.ทหาร
๒. ผู้มีสิทธิรับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ
๓. กง.ทหาร หรือหน่วยเบิกจ่ายในส่วนภูมิภาค
หน่วยเบิกจ่ายเงินเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญของกระทรวงกลาโหม
จังหวัด | หน่วยเบิกจ่าย | จังหวัด | หน่วยเบิกจ่าย | จังหวัด | หน่วยเบิกจ่าย |
กรุงเทพฯ | กง.กห. | นนทบุรี | สัสดีจังหวัด น.บ. | ราชบุรี | มทบ.๑๖ |
กง.ทหาร | นราธิวาส | สัสดีจังหวัด น.ธ. | ลพบุรี | มทบ.๑๓ | |
กง.ทบ. | น่าน | มทบ.๓๘ | ลำปาง | มทบ.๓๒ | |
กง.ทร. | บึงกาฬ | สัสดีจังหวัด บ.ก. | ลำพูน | สัสดีจังหวัด ล.พ. | |
กง.ทอ. | บุรีรัมย์ | มทบ.๒๖ | เลย | มทบ.๒๘ | |
กระบี่ | สัสดีจังหวัด ก.บ. | ปทุมธานี | สัสดีจังหวัด ป.ท. | ศรีสะเกษ | สัสดีจังหวัด ศ.ก. |
กาญจนบุรี | มทบ.๑๗ | ประจวบคีรีขันธ์ | กองบิน ๕ | สกลนคร | มทบ.๒๙ |
กาฬสินธุ์ | สัสดีจังหวัด ก.ส. | ปราจีนบุรี | มทบ.๑๒ | สงขลา | มทบ.๔๒ |
กำแพงเพชร | สัสดีจังหวัด ก.พ. | ปัตตานี | มทบ.๔๖ | สตูล | มทบ.๔๒ |
ขอนแก่น | มทบ.๒๓ | พระนครศรีอยุธยา | สัสดีจังหวัด อ.ย. | สมุทรปราการ | สัสดีจังหวัด ส.ป. |
จันทบุรี | สัสดีจังหวัด จ.บ. | พังงา | สัสดีจังหวัด พ.ง. | สมุทรสงคราม | สัสดีจังหวัด ส.ส. |
ฉะเชิงเทรา | สัสดีจังหวัด ฉ.ช. | พัทลุง | สัสดีจังหวัด พ.ท. | สมุทรสาคร | สัสดีจังหวัด ส.ค. |
ชลบุรี | มทบ.๑๔ | พิจิตร | สัสดีจังหวัด พ.จ. | สระแก้ว | มทบ.๑๙ |
ชุมพร | มทบ.๔๔ | พิษณุโลก | มทบ.๓๙ | สระบุรี | มทบ.๑๘ |
เชียงราย | มทบ.๓๗ | เพชรบุรี | มทบ.๑๕ | สิงห์บุรี | สัสดีจังหวัด ส.ห. |
เชียงใหม่ | มทบ.๓๓ | เพชรบูรณ์ | มทบ.๓๖ | สุโขทัย | สัสดีจังหวัด ส.ท. |
ชัยภูมิ | สัสดีจังหวัด ช.ย. | แพร่ | สัสดีจังหวัด พ.ร. | สุพรรณบุรี | สัสดีจังหวัด ส.พ. |
ชัยนาท | สัสดีจังหวัด ช.น. | พะเยา | มทบ.๓๔ | สุราษฎร์ธานี | มทบ.๔๕ |
ตรัง | สัสดีจังหวัด ต.ง. | แม่ฮ่องสอน | สัสดีจังหวัด ม.ส. | สุรินทร์ | มทบ.๒๕ |
ตราด | สัสดีจังหวัด ต.ร. | ภูเก็ต | สัสดีจังหวัด ภ.ก. | หนองคาย | สัสดีจังหวัด น.ค. |
ตาก | มทบ.๓๑๐ | มหาสารคาม | สัสดีจังหวัด ม.ค. | หนองบัวลำภู | สัสดีจังหวัด น.ภ. |
นครนายก | สัสดีจังหวัด น.ย. | มุกดาหาร | สัสดีจังหวัด ม.ห. | อ่างทอง | สัสดีจังหวัด อ.ท. |
นครปฐม | สัสดีจังหวัด น.ฐ. | ยะลา | สัสดีจังหวัด ย.ล. | อุดรธานี | มทบ.๒๔ |
นครพนม | มทบ.๒๑๐ | ยโสธร | สัสดีจังหวัด ย.ส. | อุทัยธานี | สัสดีจังหวัด อ.น. |
นครราชสีมา | มทบ.๒๑ | ร้อยเอ็ด | มทบ.๒๗ | อุตรดิตถ์ | มทบ.๓๕ |
นครศรีธรรมราช | มทบ.๔๑ | ระนอง | สัสดีจังหวัด ร.น. | อุบลราชธานี | มทบ.๒๒ |
นครสวรรค์ | มทบ.๓๑ | ระยอง | สัสดีจังหวัด ร.ย. | อำนาจเจริญ | สัสดีจังหวัด อ.จ. |
การขอรับเงินคืนจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. สามารถแจ้งความประสงค์ขอรับเงินคืนจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และลงชื่อในแบบคำขอรับเงินตามแบบที่ กบข. กำหนด พร้อมกับการยื่นเรื่องขอรับบำเหน็จบำนาญผ่านหน่วยต้นสังกัด โดย กบข.จะส่งเอกสารแจ้งยอดเงินให้ผู้มีสิทธิทราบทางไปรษณีย์ และดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของข้าราชการโดยตรง
ห้วงระยะเวลาดำเนินการและขั้นตอนการปฏิบัติของ บก.ทท.
๑. ห้วง เม.ย. ผู้เกษียณอายุยื่นเรื่องพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ ทางราชการกำหนดผ่านหน่วยต้นสังกัด หรือ สบ.ทหาร แล้วแต่กรณี
๒. ห้วง พ.ค. - มิ.ย. สบ.ทหาร ดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
๓. ห้วง มิ.ย. - ก.ค. เสนอกระทรวงการคลังทางอินเตอร์เน็ตและ ส่งแบบคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาสั่งจ่าย ส่วนอนุมัติและเบิกจ่าย ๑ สำนักบริหารการเบิกจ่ายเงิน กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ตรวจสอบความถูกต้อง ขออนุมัติต่ออธิบดีกรมบัญชีกลาง “สั่งจ่าย”
๔. ห้วง ส.ค. อธิบดีกรมบัญชีกลาง “สั่งจ่าย” แล้ว
(๑) ส่งใบแนบหนังสือสั่งจ่ายสำหรับผู้มีสิทธิเพื่อทราบทางไปรษณีย์
(๒) ส่งใบแนบหนังสือสั่งจ่ายสำหรับส่วนราชการผู้ขอพร้อมสมุดประวัติคืนให้ บก.ทท. (สบ.ทหาร)
๕. สบ.ทหาร ส่งหลักฐานสั่งจ่ายพร้อมสมุดประวัติให้ กง.ทหาร (กรณีรับเงินทาง บก.ทท.) หรือเหล่าทัพ (กรณีรับเงินทางส่วนภูมิภาค)
๖. กง.ทหาร ส่งหลักฐานพร้อมสมุดประวัติให้ สป. หรือเหล่าทัพ
การขอเปลี่ยนแปลงการรับบำเหน็จบำนาญ
ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการขอรับและการจ่ายบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ หมวด ๓ การสั่งจ่ายบำเหน็จบำนาญ ข้อ ๑๗ วรรคสี่ เมื่อผู้มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญได้รับเงินบำเหน็จ หรือบำนาญ จากส่วนราชการ ผู้เบิกแล้ว จะขอเปลี่ยนแปลงความประสงค์ในการขอรับบำเหน็จ หรือบำนาญอีกไม่ได้นั้น มีความหมายว่าแม้จะมีการสั่งจ่ายบำเหน็จหรือบำนาญให้แล้ว หากผู้มีสิทธิยังไม่ได้รับเงินจากส่วนราชการผู้เบิกก็ยังสามารถขอเปลี่ยนแปลงความประสงค์ได้ แต่ถ้าหากได้รับเงินบำเหน็จหรือบำนาญจากส่วนราชการ ผู้เบิกไปแล้ว จะเปลี่ยนแปลงความประสงค์อีกไม่ได้
การขอเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ และบำเหน็จตกทอดเพิ่ม
การขอเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญและบำเหน็จตกทอดเพิ่ม เนื่องจาก มีเวลาราชการทวีคูณ เงินเดือน หรือเงินเพิ่ม พ.ส.ร. เพิ่มเติม ให้ยื่นเอกสารหลักฐานพร้อมแนบหนังสือสั่งจ่ายบำนาญจากกรมบัญชีกลาง จำนวน ๒ ชุด ผ่านหน่วยต้นสังกัดก่อนออกจากราชการ หรือเสนอโดยตรงที่ศูนย์บริการ แบบเบ็ดเสร็จ อาคาร ๔ บก.ทท.
สำหรับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษต่อต้าน การก่อการร้าย (พ.ต.ร.), เงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการอารักขาบุคคลสำคัญ (พ.ป.อ.ส.) และเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับผู้ปฏิบัติงานทำลายวัตถุระเบิดเป็นประจำ (พ.ท.ล.) ให้ผ่านที่ ศรภ. หรือ ศตก. แล้วแต่กรณีเพื่อรับรองการปฏิบัติหน้าที่จนถึงวันก่อนวันพ้นราชการ
การติดตามเรื่องขอรับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ
ข้าราชการที่ยื่นเรื่องขอรับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญกับหน่วยต้นสังกัดแล้ว เมื่อต้องการติดตามเรื่องการพิจารณาอนุมัติสั่งจ่ายเงินให้ ติดต่อโดยตรง กับหน่วยต้นสังกัด หรือสอบถามการโอนเงินบำเหน็จบำนาญที่ กง.ทหาร โทร. ๐ ๒๕๗๕ ๖๓๖๕ สำหรับข้าราชการที่ขอรับบำเหน็จบำนาญทางส่วนภูมิภาค (ต่างจังหวัด) กรุณาไปติดต่อแสดงตนกับเจ้าหน้าที่ ณ หน่วยเบิกบำนาญในพื้นที่โดยตรง หลังได้รับหนังสือแจ้งการสั่งจ่ายจากกรมบัญชีกลาง หากไปติดต่อแสดงตนหลังวันที่ ๔ ของเดือนจะทำให้ได้รับบำเหน็จบำนาญในเดือนถัดไป
หมายเหตุ : การขอรับเงิน กบข. ผ่านระบบ e-Pension เฉพาะกรณียื่นเรื่องพร้อมกับ
การขอรับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญเท่านั้น
ข้อเปรียบเทียบการเลือกรับบำเหน็จ หรือบำนาญ
๑. กรณีเลือกรับบำเหน็จ
๑.๑ ได้รับเงินก้อนครั้งเดียว สามารถนำไปลงทุนประกอบอาชีพส่วนตัวหรือฝากสถาบันการเงิน ธนาคาร สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือนำไปลงทุนในด้านอื่น ๆ
๑.๒ ได้รับเงินเต็มตามจำนวนเวลาราชการที่มีอยู่ เช่น มีเวลาราชการ ๕๕ ปี ก็จะได้รับเงิน ๕๕ เท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้าย
๑.๓ ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนบุตร และเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล และเงินบำเหน็จดำรงชีพ
๑.๔ เมื่อเสียชีวิตทายาทไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษ และเงินบำเหน็จตกทอด
๒. กรณีเลือกรับบำนาญ
๒.๑ ได้รับเงินรายเดือนทุกเดือนตลอดชีวิต มีรายได้ที่แน่นอนมั่นคงเป็นรายเดือนทุกเดือน
๒.๒ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนบุตร และเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
๒.๓ มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพ
๒.๔ มีสิทธิกู้เงินกับสถาบันการเงินโดยนำสิทธิในบำเหน็จตกทอด เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน
๒.๕ เมื่อมีการปรับบัญชีเงินเดือนคราวใด ก็อาจจะได้รับการพิจารณาเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพให้ (ช.ค.บ.)
๒.๖ เมื่อกลับเข้ารับราชการใหม่ สามารถนำเวลาราชการครั้งแรก ก่อนออกรับบำนาญมารวมกับเวลาราชการในครั้งหลังเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญได้
๒.๗ เมื่อเสียชีวิตทายาทมีสิทธิได้รับเงิน ดังนี้
(๑) เงินบำเหน็จตกทอด (๓๐ เท่าของเงินบำนาญ รวมเงิน ช.ค.บ.)
(๒) เงินบำนาญค้างจ่าย
(๓) เงินช่วยพิเศษ (๓ เท่าของเงินบำนาญ รวมเงิน ช.ค.บ.)
ข้อควรปฏิบัติสำหรับการสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์
ข้าราชการที่เป็นสมาชิกการฌาปนกิจสงเคราะห์ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อยืนยันสถานภาพการเป็นสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ และยื่นคำร้องยินยอมให้ธนาคารหักเงินนำส่งค่าศพรายเดือนจากบัญชีเงินฝากธนาคารของข้าราชการโดยตรง (กรณีที่เคยแจ้งความประสงค์ให้หักเงินชำระผ่านหน่วย)
- แผนกการฌาปนกิจสงเคราะห์ กองสวัสดิการ สำนักสวัสดิการทหาร ๒๒๑๘ ถ.กรุงเทพ - นนทบุรี แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กทม. ๑๐๘๐๐ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ๐๙ ๓๘๕๑ ๓๓๔๘
- กองการฌาปนกิจ กรมสวัสดิการทหารบก ถ.นครสวรรค์ แขวงวัดโสมมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. ๑๐๑๑๐ โทร. ๐ ๒๖๕๔ ๗๔๐๐
- กิจการการฌาปนกิจสงเคราะห์แห่งราชนาวี กรมสวัสดิการทหารเรือ ๒/๙ ถ.อิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กทม. ๑๐๗๐๐ โทร. ๐ ๒๔๗๕ ๓๒๘๓ - ๕, ๐ ๒๔๑๑ ๕๘๗๕
- แผนกฌาปนกิจ กองการฌาปนกิจสงเคราะห์ กองสงเคราะห์ กรมสวัสดิการทหารอากาศ กองทัพอากาศ ดอนเมือง กทม. ๑๐๒๑๐ โทร ๐ ๒๕๓๔ ๓๘๑๕, ๑๖, ๑๘
สิทธิพิเศษของข้าราชการทหารที่จะเกษียณอายุ
๑. ได้รับอนุญาตให้ลาพักราชการก่อนวันครบเกษียณได้ ๓ เดือน โดย ไม่นับเป็นวันลา และมิต้องถูกตัดเงินเดือนเพื่อให้โอกาสในการเตรียมการเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว เช่น ที่อยู่อาศัย การเตรียมการในเรื่องการรับบำเหน็จบำนาญตามหนังสือกระทรวงกลาโหม ที่ ๑๙๒๕/๐๕ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๐๕ เรื่องอนุญาตให้ข้าราชการลาพักเพื่อรอการปลด
๒. ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ตามระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยประกาศเกียรติคุณของผู้รับราชการจนครบเกษียณอายุ พ.ศ. ๒๕๒๑